วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตอน เพื่อนบุณย์

            เพื่อนบุณย์เป็นเรื่องราวของพระภิกษุ 2 รูปที่เคยเป็นเพื่อนรักกันมาก่อน  เดิมหลวงตาเป็นไอ้แคล้วผู้ซึ่งดื่มเหล้าและเล่นการพนันเป็นชีวิตจิตใจ  แล้ววันหนึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของแคล้วและครอบครัวก็เกิดขึ้นเมื่อเพื่อนที่เคยรักกันมาแต่อดีตมาเยี่ยมเยียนที่บ้านและร้องขอบิณฑบาตความแหลกเหลวทั้งหลายของแคล้วเพื่อตัวนายแคล้วและลูกเมียให้พ้นจากนรก  หลังจากนั้นนายแคล้วก็ได้บวชเป็นพระแคล้วจนได้กลายเป็นหลวงพ่อแก่ๆพำนักอยู่ในกุฏิเก่าๆเลี้ยงไก่แจ้แจกจ่ายชาวบ้านที่มาขอ  ส่วนพระมหาที่เคยเป็นเพื่อนรักกันกับหลวงพ่อเดียวนี้กลายเป็นท่านอาจารย์ผู้ที่ความศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วสารทิศมีผู้คนต่างฐานะ  ต่างเพศ  ต่างวัยจากทั่วทุกทิศมุ่งหน้ามาสู่วัดไม่ขาดสาย  ด้วยจุดประสงค์ต่างๆนานา เช่นขอหวย  ขอน้ำมนต์ของขลังต่างๆ  ส่วนค่าตอบแทนที่ท่านอาจารย์ได้รับจากคนเหล่านั้นที่นำมาถวายก็เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆทำให้พระมหาที่เคยเป็นเพื่อนร่วมใบบุญกับนายแคล้วในอดีตกลายเป็นท่านอาจารย์ที่หลงงมงายในทางโลกอาศัยอยู่บนกุฏิเป็นตึกหลังใหญ่ที่มีไฟฟ้าใช้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ผู้คนนำมาถวายเช่น โทรทัศน์  โทรศัพท์  พัดลมฯท่านอาจารย์ในตอนนี้เปลี่ยนเป็นคนละคนกับท่านมหาที่นายแคล้วเคยเคารพและศรัทธา  ท่านอาจารย์เคยพูดกับหลวงพ่อว่า  ในเมื่อชาวบ้านมีศรัทธานำมาถวายเราก็รับไว้ถึงอย่างไรก็ได้กับวัด   แต่สำหรับหลวงพ่อเห็นว่าสิ่งของเหล่านั้นมันมากเกินไป

                วันหนึ่งหลังจากหลวงพ่อกับจากไปสวดงานศพของมรรคนายกขณะนั้นเวลาก็ประมาณเกือบเที่ยงคืนหลวงพ่อได้มองไปทางตึกใหญ่เห็นไฟเปิดอยู่แต่เงียบสงัดจึงสงสัยเพราะปกติท่านอาจารย์จะปิดไฟตั้งแต่สี่ทุ่มหลวงพ่อจึงเข้าไปดูในตึก  ภาพที่หลวงพ่อเห็นแล้วตกใจยิ่งนักก็คือข้าวของภายในตึกเกลื่อนกลาดและท่านอาจารย์นอนจมกองเลือดอยู่หน้าพระประธานใหญ่

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

                1.ความโลภนำมาสู่หายนะของชีวิต
                2.โลภมากลาภหาย

ตอน คนต่อนก

               ญามีนห์เป็นหนุ่มชาวใต้ เชื้อสายแขก มีอาชีพและหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการต่อนก จนถูกเพื่อนๆล่อว่า “แขกต่อนก” มาตั้งแต่เด็ก ญามีนห์มีนกบินหลาดงแสนรู้ ที่เป็นเหมือนเครื่องมือในการทำมาหากินของเขา และเป็นเหมือนสมบัติที่มีค่ายิ่งสำหรับเขาอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งนักเลงนกคนใดที่ได้เห็นนกของเขาต่างก็อยากได้กันทั้งนั้น
                วันหนึ่ง เมื่อญามีนห์กลับจากการต่อนก ซึ่งเป็นวันที่เขาพลาดนกตัวงามไปอย่างน่าเสียได้  เขาก็เจอมะ(แม่) ซึ่งอาศัยอยู่ด้วย หาว่าเขาไม่ยอมทำมาหากิน ไม่ยอมกรีดยาง ไม่ยอมทำไร่ทำสวน เหมือนชาวบ้านคนอื่นๆ เอาแต่ต่อนกเล่นไปวันๆ และที่สำคัญ คือ ไม่ยอมหาเงินมารักษาอาการป่วยของลีเมาะห์ เมียที่นอนป่วยรอความตายอยู่ที่บ้าน ทั้งๆที่เขาพยายามหาเงินด้วยการต่อนก และนำเงินที่ได้จากการขายนกมาซื้อยารักษาเมียของเขาจนหมดสิ้น
ญามีนห์พยายามหาเงินสักก้อนมารักษาภรรยา แต่หาไม่ได้เลย ประกอบกับคำพูดของมะที่บ่นว่า ทำให้ เขาตัดสินใจขายนกต่อแสนรู้ ที่เป็นเหมือนกับชีวิตของเขา ให้กับเถาแก่จูเจ้าของโรงเลื้อยที่อยากได้นกต่อแสนรู้ของเขามานานแล้ว แต่โชคร้าย เขากลับถูกเถ้าแกจูโกงราคาขายนก จาก 2,000 บาท เหลือเพียง 500 บาท ญามีนห์นำเงินที่ได้ไปซื้อยามรักษาเมีย โดยที่ไม่รู้เลยว่าตัวเองจะทำมาหากินต่อไปอย่างไร

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

1.เรื่องนี้ได้สะท้อนสภาพชีวิตของคนในสังคมอีกมุ่งหนึ่งของชีวิต ซึ่งมีอยู่จริงในสังคมไทย ที่หลายคนเลือกเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ชีวิตตามบริบททางสังคม และนอกจากจะเลือกเกิดไม่ได้ ชีวิตยังดูเหมือนว่าจะถูกกลั้นแกล้งจากโชคชะตาและผู้คนด้วยกันอีกด้วย
2.เราไม่ควรเอาเปรียบผู้อื่น เพราะชีวิตของแต่ละคนก็น่าสงสารอยู่แล้ว และเราคงไม่ต้องการให้ใครมาเอาเปรียบเราเช่นกัน
3.ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม มักตัดสินกันด้วยการประกอบอาชีพที่มีเกียรติและอาชีพที่ร่ำรวยเท่านั้น โดยไม่สนใจว่า อาชีพนั้นจะเป็นอาชีพที่สุจริต หรือไม่
4.เราควรเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า ชีวิตของแต่ละคนเคยผ่านความเจ็บปวดและเสียใจอะไรมาบาง  
5.อุปสรรคปัญหาเป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับชีวิตของมนุษย์ทุกคน สำคัญอยู่ที่เราต้องหาทางออก และวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง และไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

ตอน คนบนสะพาน

                ชายคนหนึ่งเขามีอาชีพเลี้ยงวัวชน สิ่งที่เขาต้องทำทุกวันก็คือการฝึกซ้อม โดยไล่ให้วัววิ่งบ้างเดินบ้างเป็นระยะทางกว่าสิบกิโล ซึ่งมันทำให้เขาพลอยแข็งแกร่งตามไปด้วย วันไหนมีตลาดนัด เขาก็จะจูงวัวเดินไปโชว์ในตลาด ให้มันคุ้นเคยกับคนมากๆ เวลาลงบ่อนจะได้ไม่ตื่นกลัว
                วันนี้ก็เช่นกัน เขาต้องจูงวัวข้ามสะพานแคบๆที่มีความกว้างพอให้วัวเดินผ่านได้เพียงตัวเดียว แต่เพราะไม่ใช่เป็นสะพานธรรมดา หากแต่เป็นสะพานลิงที่ตั้งขึ้นโดยการขึงลวดขนาดใหญ่ จากสองฝั่งลำน้ำ แล้วปูเรียบด้วยกระดานห่างๆ มีลวดเส้นเขื่องสองข้างเป็นราวให้คุมเกาะ ซึ่งเวลาคนเดินข้ามมันจะแกว่งไปมาอย่างน่ากลัว คนเลี้ยงวัวนั้นต้องเดินถอยหลังเมื่อขึ้นสะพานเขารู้สึกแปลกใจนิดๆ เมื่อเห็นสะพานแกว่งหนักกว่าครั้งเก่า คนเลี้ยงวัวหันกลับไปอย่างเอะใจ และเขาต้องสะดุ้งเมื่อเห็นใครอีกคน กำลังจูงวัวมาบนสะพานแคบๆแห่งนี้ด้วย และมันก็เป็นวัวชนเช่นเดียวกัน
                ทั้งสองประจันหน้ากันกลางสะพาน ในมือของแต่ละฝ่ายมีเชือกวัวถืออยู่ วัวชนทั้งสองที่อยู่เบื้องหลังคนจูงเริ่มท้าทายกัน ช่างเป็นเหตุบังเอิญที่เลวร้ายที่สุดในเช้านี้ คนทั้งสองตกลงกันไม่ได้และวัวทั้งสองตัวก็ฝืดฟาดใส่กันทั้งวัวทั้งคนไม่มีทีท่าว่าจะลดราวาศอก สะพานยิ่งแกว่งไหวมากขึ้นเรื่อยๆเหมือนจะพลิกคว่ำทั้งคนทั้งวัวเริ่มมีสีหน้าหวาดหวั่น สักครู่มีชายคนหนึ่งหาบถังใส่น้ำยางมาท่าทางของเขาเสไปมา น้ำยางสดสีขาวกระฉูดออกมาเรี่ยราดพื้นสะพาน แต่เขาก็ไม่ยอมหันหลังกลับเพราะกลัวน้ำยางในถังจะหกมากไปกว่านี้ ครู่ต่อมามีหญิงวัยกลางคน เดินขึ้นมาบนสะพานเพื่อจะไปตลาดซื้อยาให้ลูกที่กำลังไม่สบายอย่างหนัก เหมือนไม่ได้ยินเสียงห้ามและมองไม่เห็นว่าอะไรขวางหน้า แดดสายมากและคนบนสะพานก็ยังตกลงกันไม่ได้ และครู่ต่อมาก็มีคนกำลังขึ้นสะพานมาอีกสองคนมาจากคนละฟากของสะพานซึ่งเป็นพระพึ่งกลับจากบิณฑบาตรและคนจูงจักรยาน พระจึงได้เข้าไปไกล่เกลี่ยโดยให้คนทั้งหมดบนสะพานถอยหลังออกจากสะพานให้หมดยกเว้นคนจูงวัวทั้งสองคนที่พระบอกว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา บนสะพานจึงเหลือเพียงคนเลี้ยงวัวทั้งสองแต่ถึงกระนั้นคนเลี้ยงวัวทั้งสองก็ไม่สามารถดันให้วัวของตนข้ามสะพานได้  เสียงคนที่อยู่ฝั่งก็โห่ร้องอย่างไม่พอใจ ทำให้วัวทั้งคู่ กลัวลนลานจนบังคับไม่อยู่ คนเลี้ยงวัวทั้งสองไม่อาจใช้มือยันวัวของตนให้กลับไปได้ มีเสียงโห่ร้องยั่วยุให้วัววิ่งเข้าหากันบัดนี้คนเลี้ยงวัวทั้งสองไม่มีใครคิดถึงศักดิ์ศรีของตนอีกแล้ว มือของคนเลี้ยงวัวที่ใช้ยันจมูกวัวไว้เริ่มอ่อนแรง สุดท้ายวัวทั้งสองก็กระโจนใส่กันพร้อมกับเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจากคนเลี้ยงวัวทั้งสองไม่นานนักสะพานก็ขาดลงสู่พื้นน้ำพร้อมกับสิ่งมีชีวิตที่บ้าคลั่งและเคยหยิ่งในศักดิ์ศรี

 ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

1.การทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตัวเองดูเป็นคนที่โดดเด่นซึ่งตามปกติไม่มีใครทำกันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น
                การที่คนเลี้ยงวัวตัดสินใจพาวัวที่ตนมีหน้าที่ดูแล นำวัวเดินข้ามสะพานซึ่งในความคิดของเขานั้นคิดว่าเป็นเรื่องที่พิเศษคนอื่นไม่สามารถทำได้ ซึ่งสะพานดังกล่าวนั้นเป็นสะพานแขวนเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะนำวัวเดินข้าม แต่ด้วยความที่คนจูงวัวคิดวัวตัวเองเก่งมีความสามารถจึงได้กระทำการดังกล่าวโดยคิดว่าคงไม่มีใครทำได้อย่างตน ซึ่งต่อมาจึงได้เกิดปัญหาไม่สามารถพาวัวข้ามไปอีกฝากหนึ่งของสะพานเนื่องจากมีคนเลี้ยงวัวนำวัวข้ามสะพานมาอีกฝากเช่นกันวัวทั้งสองตัวและคนเลี้ยงวัวจึงได้ประจันหน้ากันบนสะพานต่อมาก็มีทั้งคนหาบยางที่หาบยางมาเพื่อข้ามไปอีกฟาก เพื่อนำน้ำยางไปส่ง แม่ที่กำลังรีบร้อนจะข้ามสะพานเพื่อไปซื้อยาที่ตลาดมาให้ลูกที่กำลังป่วยหนัก คนจูงจักรยานที่กำลังจะข้ามฟากและแม้กระทั่งพระสงฆ์ที่กำลังกลับจากบิณฑบาตซึ่งมันทำให้เกิดปัญหาต่อคนส่วนมากจากความคิดที่แปลกประหลาดของตัวเองในการจูงวัวข้ามสะพานเพียงเพื่อความรู้สึกพอใจในความเก่งกล้าของตัวเองแต่หารู้ไม่ว่าเป็นความโง่เขลาอย่างที่สุด และต่อมาก็เกิดภัยกับตัวเองอีกจากการพาวัวข้ามสะพานเพราะโดยสัญชาตญาณของสัตว์ ย่อมเกิดความรู้สึกคึกคะนองเสมอจากการถูกยั่วยุ ซึ่งวัวที่อยู่บนสะพานที่คนเลี้ยงวัวพยายามที่จะนำวัวข้ามไปนั้นเมื่อข้ามไม่ได้และถูกยั่วยุจากคนที่อยู่บนฝั่งจึงได้กระโจนใส่กันเกิดอันตรายแก่คนเลี้ยงวัวทั้งสอง จึงเป็นอันตรายต่อตนเองจากความอุตริทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
2.ความทระนงค์หยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง
                การที่คนเลี้ยงวัวทั้งสองคน เมื่อพาวัวข้ามสะพานมาเจอกันแล้วซึ่งถ้าหากไม่หยิ่งในความเก่งกาจจากการพาวัวข้ามสะพานแขวนได้ของตัวเองแล้ว ซึ่งตอนที่วัวทั้งสองยังไม่เข้าใกล้กันถ้าหากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมลดความมีศักดิ์ศรีของตัวเองแล้วถอยวัวของตัวเองกลับขึ้นฝั่งเดิมก่อนเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆก็จะไม่ตามมาเป็นแน่ แต่ด้วยความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเองกลับไม่ยอมถอยวัวกลับขึ้นฝั่งเดิมก่อนแต่กลับท้าทายกัน ทำให้วัวทั้งสองตัวเข้าใกล้กันมากขึ้นสุดท้ายความทระนงค์ของตนเองกลับย้อนมาทำร้ายตนเองโดยการกระโจนใส่กันของวัวจนสะพานขาดทั้งสองคนตกลงน้ำ


ตอน ก่อกองทราย

                มีเด็ก กลุ่มหนึ่งซึ่งในกลุ่มมีเด็กชายตัวโต เด็กผู้ชาย 3 คน และเด็กผู้หญิงอีก 1 คนรวมเป็น 5 คน ได้ลงเล่นน้ำซึ่งเด็กผู้ชายทั้งหลายก็ลงไปเล่นและปล่อยเด็กผู้หญิงไว้บนหาด ตามลำพังต่อมาอีกไม่นานก็มีเด็กผู้ชายอีก 4 คนลงไปเล่นน้ำอีก เด็กผู้หญิงยังนั่งอยู่ที่เดิมคอยกวาดทรายเล่นทำเป็นช่องตารางแล้วกำหนดเป็น ห้องต่างๆ ในบ้านซึ่งเธอดีใจกับผลงานมาก พอถึงตอนเที่ยงพวกเด็กผู้ชายก็ขึ้นจากน้ำมีเด็กชายคนหนึ่งท่าทางซุกซนที่มา กับกลุ่มหลังได้ดึงดอกเข็มที่ปักบนกองทรายเธอออกและเหยียบกองทรายเธอจนพังไป หมด เธอจึงร้องไห้มองดูดินทรายที่พังราบแล้วเธอก็บอกกับตัวเองว่า "ทำใหม่ก็ได้" เธอจึงทำเจดีย์ขึ้นมาใหม่และชื่นชมกับผลงานชิ้นใหม่ ต่อมาเด็กชายกลุ่มนั้นก็วิ่งขึ้นจากน้ำ ทำให้น้ำกระเด็นโดนเจดีย์ของเธอพังทลาย เธอร้องไห้ลั่น มองหาคนที่ทำ เธอไม่สนใจเริ่มคุ้ยทรายขึ้นมาทำเจดีย์ใหม่ ขณะเดียวกันมีเด็กชายร่างเล็กเข้ามาอยู่ด้วย เขาถามเธอว่า จะทำไปทำไมเดี๋ยวก็พังอีกแต่ยังคงตั้งตาทำต่อไป เธอนั่งลงในน้ำหันหน้าเข้าหาฝั่งเป็นกำบังคลื่น คลื่นซัดจนพังหลายครั้งแต่เธอก็ไม่สิ้นความพยายามเขาจึงช่วยกันทำเจดีย์

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

1.การที่มีความพยายามในการทำอะไร ก็จะทำงานนั้นได้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะอุปสรรคอะไร ถ้ามีความอดทนอดกลั้น ก็จะประสบผลสำเร็จ
2.การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมใดก็ตาม เหมือนกับกองทรายกองใหญ่ แม้ว่าคลื่นจะซัดมาแรงแค่ไหน กองทรายกองนั้นก็จะไม่พัง ถึงพังก็น้อย แต่เมื่อคนในสังคมนั้นๆไม่สามัคคีกันแล้ว เปรียบได้กับกองทรายกองเล็ก ที่พร้อมจะถล่มได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ความสามัคคีคือพลังที่สามารถฝ่าพ้นอุปสรรคน้อยใหญ่ได้




ก่อกองทราย





        เรื่องสั้นชุด ก่อกองทรายของไพฑูรย์ ธัญญา มีลักษณะที่แสดงถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล ดังเช่นมนุษย์ทั่วไปในโลกพึงจะเป็นและในขณะเดียวกันก็มีสีสันชีวิตของท้องถิ่นและความเป็นไทยทั้งในด้านถ้อยคำ และการใช้ฉากอันเป็นท้องเรื่อง เนื้อเรื่องมีความหลากหลาย แสดงปัญหาและแง่มุมต่างๆ ของชีวิตหลายเรื่องเช่น คนบนสะพาน” “บ้านใกล้เรือนเคียงและ เพื่อนบุณย์สะท้อนธาตุแท้ของคน ส่วนเรื่อง คำพยากรณ์และ นอกเขาไฟเน้นความคิด ความเชื่อของคนในชนบท และบางเรื่องก็แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้ ไพฑูรย์ ธัญญา ใช้กลวิธีเสนอเรื่องหลายแบบที่แยบยล สอดคล้องกับเนื้อหาอาจจะอ่านได้อย่างตรงไปตรงมา หรืออย่างมีนัยเป็นสัญลักษณ์ เช่นเรื่อง ก่อกองทรายและ คำพยากรณ์ลักษณะเด่นของวิธีนำเรื่องอีกประการหนึ่งคือการเสนอความจริงที่บางครั้งอาจจะไม่สวยงาม แต่ก็ไม่สร้างความรู้สึกขมขื่น บางครั้งยังแฝงอารมณ์ขันไว้ด้วยไพฑูรย์ ธัญญา ใช้ภาษาที่มีลักษณะกวี ประณีต รื่นหู กะทัดรัด และไม่ซับซ้อน อุดมด้วยถ้อยคำที่ให้จินตภาพ ประทับใจด้วยสี แสง และเสียงด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นนี้ คณะกรรมการตัดสินวรรณกรรมเพื่อรับรางวัลซีไรต์ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เรื่องสั้นชุด ก่อกองทรายของ ไพฑูรย์ ธัญญา ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2530


เรื่องสั้นทั้ง 12 เรื่อง
- คนบนสะพาน 
- คนต่อนก 
- เพื่อนบุณย์ 
- คือชีวิต...และเลือดเนื้อ 
- ผู้ประทุษร้าย 
- อุบาทว์ 
- คำพยากรณ์
- เรือปลาเที่ยวสุดท้าย 
- นกเขาไฟ 
- ความตกต่ำ 
- ก่อกองทราย 
- บ้านใกล้เรือนเคียง